2566 รู้ก่อนเสีย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

4,181 จำนวนผู้เข้าชม

2566 รู้ก่อนเสีย

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ภาษีที่ดิน คืออะไร

          ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง หรือเรียกย่อ ๆ ว่า ภาษีที่ดิน เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เช่น บ้าน อาคาร ที่ครอบครอง โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ เทศบาล องค์กรบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บ


          ภาษีที่ดิน เก็บเท่าไหร่ ? ข่าวดีคือ ในปี 2566 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะยังคงจัดเก็บในอัตราเดิม และคณะรัฐมนตรียังได้มีมติให้ปรับลด ภาษีที่ดินลงอีก 15% ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เท่ากับว่าในปี 2566 เราจะเสียภาษีที่ดินน้อยลง

อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2565-2566

เกษตรกรรม

• มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 75 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.01%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 7,500 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 75 – 100 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.03%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 30,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 100 – 500 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.05%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 250,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 500 – 1,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.07%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 700,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 1,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.1%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 1,000,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

 
2. ที่อยู่อาศัย


2.1 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง


(เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)


• มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 25 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.03%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 7,500 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 25 – 50 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.05%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 25,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 50 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.1%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

 

2.2 สิ่งปลูกสร้าง
 

(เจ้าของซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัย และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน)


• มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 40 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.02%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 8,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 40 – 65 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.03%


• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 19,500 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 65 – 90 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.05%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ไม่เกิน 45,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 90 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.1%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 90,000 บาทขึ้นไป

*บุคคลธรรมดาได้รับการยกเว้น ที่ดิน 50 ล้านบาทแรก ไม่ต้องเสียภาษี

 
2.3 ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย


นอกจากการใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัยตาม 2.1 และ 2.2 (บ้านหลังอื่นๆ)
 

• มูลค่าทรัพย์สิน : 0 – 50 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.02%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 10,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 50 – 75 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.03%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 22,500 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 75 – 100 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.05%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 50,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 100 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.1%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : ตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป

 
3. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจาก 1 และ 2
 

• มูลค่าทรัพย์สิน : ไม่เกิน 50 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.3%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 150,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 50 – 200 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.4%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 800,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 200 – 1,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.5%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 5,000,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 1,000 – 5,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.6%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 30,000,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 5,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.7%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 35,000,000 บาทขึ้นไป


4. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์


• มูลค่าทรัพย์สิน : ไม่เกิน 50 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.3%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 150,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 50 – 200 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.4%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 800,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 200 – 1,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.5%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 5,000,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : 1,000 – 5,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.6%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) :ไม่เกิน 30,000,000 บาท

• มูลค่าทรัพย์สิน : เกิน 5,000 ล้านบาท

• อัตราภาษี : 0.7%

• ภาษีที่ต้องจ่าย(ต่อปี) : 35,000,000 บาทขึ้นไป
 

ภาษีที่ดิน คำนวณอย่างไร


          การตีมูลค่าของบ้านจะต้องแยกเป็นมูลค่าของที่ดิน และมูลค่าของสิ่งปลูกสร้าง จากนั้นจึงนำผลลัพธ์มารวมกัน คือ

 1. ที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง

          ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี

         โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ที่ดิน

 

2. ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

          ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี

          โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ที่ดิน

          มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา


3. ห้องชุด

          ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี 

          โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่ห้องชุด/ตร.ม.


ภาษีที่ดิน จ่ายเมื่อไหร่

          1. ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากเดิมภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นภายในเดือนมกราคม 2566 ในการจัดทำ บัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อประกาศ และจัดส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้ผู้เสียภาษีแต่ละรายทราบ


          2. ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากเดิมก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นก่อนวันที่ 1 เมษา 2566 ในการประกาศราคาประเมินทุนทรัพย์ ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อัตราภาษีที่จัดเก็บ และรายละเอียดอื่นที่จำเป็นในการจัดเก็บภาษี


          3. ขยายกำหนดเวลา ในการแจ้งการประเมินภาษี ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากเดิมภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 เป็นภายใน เดือนเมษายน 2566 ในการส่งแบบประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี


          4. ขยายกำหนดเวลาของผู้เสียภาษี ในการชำระภาษีตามแบบแจ้งการประเมินภาษี จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2566 เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2566


          5. ขยายกำหนดเวลาของผู้เสียภาษี ในการผ่อนชำระภาษีโดย

                    • งวดที่ 1 จากเดิมภายในเดือนเมษายน 2566 เป็นภายในเดือนมิถุนายน 2566

                    • งวดที่ 2 จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นภายในเดือนกรกฎาคม2566

                    • งวดที่ 3 จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นภายในเดือนสิงหาคม 2566


          6. ขยายกำหนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2566 เป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2566 ในการมีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษี ที่มีภาษีค้างชำระ


          7. ขยายกำ หนดเวลาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากเดิมภายในเดือนมิถุนายน 2566 เป็นภายในเดือนสิงหาคม 2566 ในการแจ้งรายการภาษีค้างชำระให้สำนักงานที่ดิน หรือ สำนักงานที่ดินสาขา

          ประกาศราคาประเมินที่ดิน : ออกหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดิน บ้าน ให้ผู้เสียภาษีทราบภายในเดือนกุมภาพันธ์ แต่สำหรับในปี 2566 ได้มีการขยายกำ หนดเวลาเป็นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2566

          แจ้งการประเมินภาษีให้ผู้เสียภาษีทราบ : เมื่อได้รับหนังสือแจ้งให้ตรวจสอบอัตราภาษี ประเภทของภาษีที่จัดเก็บให้เรียบร้อย จากเดิมภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ขยายเวลาเป็นภายในเดือนเมษายน 2566 กรณีที่พบว่าข้อมูลไม่ถูกต้อง ตกหล่น หรือมีข้อมูลผิดพลาดตรงไหน เช่น ประเมินบ้านซึ่งเป็นที่พักอาศัย เป็นการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะทำ ให้เสียภาษีมากขึ้น เราสามารถใช้สิทธิ์คัดค้านการประเมินภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ภ.ด.ส.6


          ชำระภาษี : ขยายเวลาเป็นภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 หากต้องจ่ายภาษีเป็นจำนวนเกิน 3,000 บาท เราสามารถใช้สิทธิ์ขอผ่อนชำระภาษีได้ 3 งวดเท่า ๆ กัน คืองวดละ 1,000 บาท โดยไม่เสียดอกเบี้ยเพิ่ม

          • จ่ายงวดที่ 1 ภายในเดือนมิถุนายน

          • งวดที่ 2 เดือนกรกฎาคม

          • งวดที่ 3 เดือนสิงหาคม


          อปท. มีหนังสือแจ้งเตือนผู้เสียภาษีที่มีภาษีค้างชำระ : จากเดิมภายในเดือนพฤษภาคม 2566 ขยายเวลาเป็นภายในเดือนกรกฎาคม 2566


ภาษีที่ดิน จ่ายที่ไหน


          สามารถชำระภาษีที่ดินได้ด้วยตัวเองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของพื้นที่นั้น ๆ คือ

          กรุงเทพฯ : ชำระภาษีที่สำนักงานเขตในพื้นที่ที่ทรัพย์สินตั้งอยู่

          เมืองพัทยา : ชำระภาษีที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา

          เทศบาล : ชำระที่สำนักงานเทศบาล

          อบต. : ชำระที่สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล

          ต่างจังหวัด : ชำระภาษีที่สำนักงานเทศบาล/ที่ทำ การขององค์การบริหารส่วนตำบล/ที่ทำ การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกฎหมายกำหนด หรือสถานที่อื่นที่ผู้บริหารท้องถิ่นกำหนด รวมทั้งจุดบริการเคลื่อนที่ที่ อปท. กำหนด


ภาษีที่ดินจ่ายล่าช้า เสียค่าปรับเท่าไหร่

1. เบี้ยปรับ

          ค่าปรับจากการที่ชำระภาษีไม่ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด

– ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด และได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 40% ของจำ นวนภาษีที่ค้างชำระ

– ไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีตามเวลาที่แจ้งไว้ตามหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 20% ของจำ นวนภาษีที่ค้างชำระ

– ไม่ได้ขำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด แต่ชำระภาษีก่อนจะได้รับหนังสือแจ้งเตือน เสียเบี้ยปรับ 10% ของจำ นวนภาษีที่ค้างชำระ

2. เงินเพิ่ม

– ดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระภาษีล่าช้าเกินกว่าเวลาที่กำหนด

– คิดอัตรา 1% ต่อเดือนของจำนวนภาษีค้างชำระ (เศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน) โดยไม่นำ เบี้ยปรับมารวมคำนวณเพื่อเสียเงินเพิ่มด้วย

– เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีจนถึงวันที่ชำระภาษี

– เพดานสูงสุดไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่จะชำระ (แต่ถ้าได้รับการขยายกำหนดเวลาชำระภาษี และชำระภาษีภายในกำหนดเวลานั้น อัตราเงินเพิ่มจะลดลงเหลือ 0.5% ต่อเดือนหรือเศษของเดือน)

3. โทษทางอาญา

          การแจ้งข้อAวามเท็จ หรือการนำ พยานหลักฐานเท็จ มาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี ต้องระวางโทษจำ คุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ


          ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องโดนเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม (หากเป็นกรณีที่ชำระภาษีล่าช้ากว่าที่กฎหมายกำหนด)


          เนื่องจากไม่ได้รับใบประเมินเรียกเก็บภาษี หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ขยาย หรือเลื่อนกำ หนดเวลาในการชำระภาษีด้วยตนเองผู้เสียภาษีไม่มีความผิด จึงไม่ต้องเสียภาษี
 

การขอเงินคืนภาษี

          ในการณีที่คุณเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเกินกว่าจำ นวนที่ต้องเสีย ไม่ว่าโดยความผิดพลาดหรือการประเมินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คุณมีสิทธิขอเงินคืนภาษีภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ชำระภาษีโดยยื่นคำ ร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่น


          หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ประเมินผิดพลาด คุณมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตรา 1 % ต่อเดือน (เศษของเดือนปัดเป็น1เดือน) ของภาษีที่ได้รับคืนโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ยื่นคำ ขอรับคืนเงิน

บทความแนะนำ

สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy