เขียนแผนที่ cartography
การทำแผนที่
การทำแผนที่ (อังกฤษ: cartography จากภาษากรีก χάρτης chartēs แปลว่า “พาไพรัส, แผ่นกระดาษ หรือแผนที่”; และ γράφειν graphein แปลว่า “เขียน”) เป็นการศึกษาและการปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างและใช้แผนที่ ซึ่งผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์ สุนทรียศาสตร์ และเทคนิค โดยตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า ความเป็นจริง (หรือความเป็นจริงที่นึกวาดไว้) สามารถจำลองขึ้นในลักษณะที่สื่อข้อมูลเชิงพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
การทำแผนที่แบบดั้งเดิม มีความมุ่งหมายพื้นฐานเป็นการ
- กำหนดเค้าโครงของแผนที่ และเลือกสรรลักษณะเฉพาะของสิ่งที่จะวาดในแผนที่ ข้อนี้เป็นประเด็นในการเรียบเรียงแผนที่ ลักษณะเฉพาะดังกล่าวอาจเป็นสิ่งมีรูปร่าง เช่น ถนนหรือที่ดิน หรืออาจเป็นนามธรรม เช่น ชื่อสถานที่ หรือแนวพรมแดนทางการเมือง
- สื่อแสดงลักษณะภูมิประเทศของสิ่งที่วาดในแผนที่ลงบนสื่อที่เป็นแผ่นเรียบ ข้อนี้เป็นประเด็นในการสร้างเส้นโครงแผนที่
- ลบลักษณะของสิ่งที่วาดในแผนที่ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายของแผนที่ ข้อนี้เป็นประเด็นในการสร้างลักษณะทั่วไป
- ลดทอนความซับซ้อนของลักษณะต่าง ๆ ที่จะวาดในแผนที่ ข้อนี้เป็นประเด็นในการสร้างลักษณะทั่วไป
- ประสานองค์ประกอบของแผนที่เพื่อให้ถ่ายทอดเนื้อหาของแผนที่ไปสู่ผู้ชมได้ดีที่สุด ข้อนี้เป็นประเด็นในการออกแบบแผนที่
- การทำแผนที่สมัยใหม่ถือเป็นรากฐานหลายประการของระบบและวิทยาการสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ
การออกแบบแผนที่
การทำแผนที่ซึ่งมีความสำคัญคือเป้าหมายดีสุดแผนที่ที่น่าสนใจจะดึงดูดผู้ใช้และแผนที่ที่มีตัวแปรจะอนุญาตให้เปรียบเทียบการออกแบบแผนที่ไม่ใช่การศึกษาที่สมบูรณ์แบบการตัดสินใจส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับนักเขียนแผนที่
การลดความซับซ้อนของแผนที่
ข้อมูลที่แสดงบนแผนที่จะต้องเข้ากับเป้าหมายของแผนที่แผนที่ที่ดีจะมีข้อมูลเพียงพอสำหรับผู้ใช้ที่จะใช้แผนที่นั้นตามที่แผนที่ถูกสร้างขึ้นไว้ผู้ทำแผนที่ต้องตัดสินใจว่าจะรวมอะไรบ้างจะยกเว้นอะไรบ้างและสิ่งที่ควรอยู่นอกศูนย์จะอยู่ที่ไหนยิ่งแผนที่เล็กลงยิ่งความสำคัญของการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่จะรวมไว้ในแผนที่จะเพิ่มขึ้น
การถ่ายแผนที่
เพราะโลกมันกลมจึงไม่สามารถแสดงพื้นที่ระยะทางหรือรูปร่างของสถานที่ต่างๆได้อย่างสมบูรณ์แบบสถานที่จะถูกบิดเบือนเมื่อแสดงบนระนาบแบน
การติดฉลากกับแผนที่
จำเป็นต้องใช้ฉลากเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ตีความแผนที่ฉลากที่ดีอ่านง่ายและอยู่ใกล้กับสิ่งนั้นฉลากที่ดีต้องมีขนาดตัวอักษรและสีที่เหมาะสมเพื่อจะไม่รบกวนฉลากอื่น ๆใช้แบบอักษรที่แตกต่างกันเพื่อเชื่อมโยงกับรายการต่างๆและสีของตัวอักษรที่แตกต่างกันเพื่อเชื่อมโยงสีจุดสังเกตหรือสีชื่อที่มีสีเดียวกัน