สัญญาก่อสร้างคืออะไร
สัญญาก่อสร้าง คือ เอกสารสัญญาที่ระบุความตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างเจ้าของบ้าน กับผู้รับเหมาก่อสร้าง ในการกำหนดข้อตกลง เงื่อนไข และค่าตอบแทน เพื่อก่อสร้างตามรายละเอียดที่ตกลงก่อสร้างตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญาว่าจ้างจนแล้วเสร็จ
ข้อควรระวัง
1. คู่สัญญา
ส่วนแรกจะเป็นวันที่และสถานที่ทำสัญญาต้องระบุให้ชัดเจน เพื่อให้รู้ว่าสัญญานี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ และมีอายุสัญญากี่ปี อีกส่วนเป็นข้อมูลส่วนบุคคลคู่สัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ควรใส่ข้อมูลให้ครบถ้วน สามารถยืนยันตัวตนและตรวจสอบได้
2.ขอบเขตและลักษณะของงาน
ระบุลักษณะงานให้ชัดเจน สิ่งจำเป็นที่ต้องมีคือ BoQ เอกสารแนบท้ายสัญญา แบบก่อสร้าง รายการประกอบแบบ ใบเสนอราคา การแบ่งงวดงาน เอกสารอื่นๆ เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาได้
3.ค่าจ้าง
ควรจ่ายตามจำนวนงาน หรือของที่เสร็จ และระบุให้ชัดว่ารวม หรือไม่รวม VAT แล้วสรุปว่าเป็นค่าจ้างเหมาทั้งหมดเท่าไหร่
4.การจ่ายค่าจ้าง
ควรจ่ายเป็นงวดงาน ในสัญญาก็จะระบุเป็นเปอร์เซ็นต์ เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ มีรายละเอียดอะไรบ้าง ให้ครอบคลุมและชัดเจนมากที่สุด
5.ข้อกำหนดระยะเวลาในการทำงาน
อาจจะระบุวันที่เริ่ม และวันที่ถึงกำหนด และกำหนดว่านับไม่นับวันไหนบ้าง อย่าลืมหากมีฤกษ์วันทำพิธีเสาเอก-เสาโท ในส่วนนี้จะต้องกำหนดระยะเวลาให้ชัดเจน
6.เงื่อนไขการส่งมอบงานและการตรวจรับงาน
ควรตกลงกันว่าผู้ว่าจ้างจะตรวจงานให้ภายในกี่วัน และจะชำระค่างวดภายในกี่วัน มีเงื่อนไขอะไรบ้าง รวมถึงเงื่อนไขการตรวจงานตั้งแต่งวดแรกจนงวดสุดท้ายจะดำเนินการกันอย่างไร และเงื่อนไขการส่งมอบงานล่าช้าและค่าปรับ
7.การแก้ไขงานเพิ่มงานเพื่อลดการเปลี่ยนแปลงงาน
การเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรทำเป็นหนังสือ และแก้ไขกำหนดเวลาเพราะเวลาก่อสร้างอาจเปลี่ยนแปลง ควรมีใบแสดงรายละเอียดปริมาณวัสดุและราคา BoQ เพื่อว่าเวลาปรับลด หรือเพิ่มรายการ ก็ให้อิงตามราคาต่อหน่วยใน BoQ และต้องมีเงื่อนไข ว่ายอมหรือไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไร
8.การประกันผลงาน
ระยะเวลาประกันงานก็ขึ้นอยู่กับประเภทงาน ปกติก็จะอ้างอิงจากขอบเขตของงาน ทั้งนี้ เราควรระบุให้ชัดเจนด้วยว่า จะต้องเข้ามาแก้ไขให้เราโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และมีกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะเข้ามาแก้ไขให้เมื่อไหร่
9.การบอกเลิกสัญญาและการเรียกค่าเสียหาย
ควรตกลงเงื่อนไขการบอกเลิกสัญญาให้ชัดเจนทั้งเงื่อนไขฝั่งผู้ว่าจ้าง และฝั่งผู้รับจ้าง เช่น ผู้รับเหมาหยุดงานก่อสร้างติดต่อกันเกินกว่า 30 วัน หรือละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร ผู้รับเหมาไม่เริ่มงานภายใน 30 วันนับจากเจาะ หรือตอกเสาเข็ม และมีเหตุให้เชื่อว่าผู้รับเหมาจะไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ได้ ซึ่งหากเลิกสัญญาแล้ว เราควรเขียนในสัญญาด้วยว่าเราจะเรียกค่าเสียหายได้เสมอ
10.ลงนามตงลงเซ็นสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง
เพื่อให้การลงนามเซ็นสัญญากันทั้ง 2 ฝ่าย เสร็จสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นควรให้พยานเซ็นพร้อมกันฝ่ายละ 1 คน ด้วยและถ้าเป็นนิติบุคคลให้ลงตราประทับด้วย
ดังนั้น แม้ว่าการก่อสร้างบ้านโดยการจ้างผู้รับเหมาก่อสร้าง จะมีโอกาสได้บ้านที่ตอบโจทย์ แต่อย่าลืมว่ามีหลายเรื่องที่ควรต้องระวัง นอกจากนี้ futuredeveloperacademy มีเปิดคอร์สเรียนให้ความรู้ด้านการก่อสร้าง คอร์สก่อสร้าง 100 ล้าน เทคนิคการบริหารและควบคุมงานก่อสร้าง หากสนใจและไม่อยากเจอความผิดพลาดในการก่อสร้าง ให้เราช่วยสอนการวางแผนการทำงานและบริหารงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น “อย่าเอาแต่รอคอยให้สิ่งต่าง ๆ พร้อมถึงจะลงมือทำ แต่จงลงมือทำตั้งแต่ยังที่ไม่พร้อม” ให้เราช่วยเตรียมความพร้อมให้คุณ แล้วเจอกัน
บทความแนะนำ
สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy