นิติบุคคลคืออะไร

37,018 จำนวนผู้เข้าชม

นิติบุคคลคืออะไร


        “นิติบุคคล” คือ สิ่งที่กฎหมายสมมุติให้เป็นบุคคล กลุ่มบุคคล เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา หรือองค์กรซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ให้เป็นบุคคล และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย บุคคลที่กฎหมายกำหนดขึ้นมาให้มีอำนาจในการกระทำต่าง ๆ เช่น สามารถทำนิติกรรมสัญญาต่าง ๆ สัญญาฟ้องร้องและถูกฟ้องร้องทรัพย์สินของตนเอง ความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สินต่างๆ เช่น ที่ดิน เงิน หน้าที่ในการเสียภาษี การเป็นเจ้าหนี้ลูกหนี้


นิติบุคคล มี 2 ประเภท


ประเภทที่ 1 นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

(นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน) มีบัญญัติเอาไว้

มีด้วยกัน 5 ประเภท ได้แก่

1.        บริษัทจำกัด

2.        ห้างหุ้นส่วนจำกัด

3.        ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

4.        สมาคม

5.        มูลนิธิ


        ยกตัวอย่าง เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ซึ่งเป็น นิติบุคคล ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือธุรกิจ และแบบไม่แสวงหาผลกำไรหรือผลประโยชน์ เช่น มูลนิธิ สมาคม


ประเภทที่ 2 นิติบุคคล ตามกฎหมายอื่น

(นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น พระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พระราชบัญญัติสหกรณ์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีกฎหมายกำหนดให้สามารถทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เช่น วัด จังหวัด กระทรวง ทบวง กรม องค์การมหาชน เป็นต้น

นิติบุคคล กับ บุคคลธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร?


        “บุคคลธรรมดา” หมายถึง ผู้ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ธุรกิจบุคคลธรรมดา มีเจ้าของเพียงคนเดียวจึงไม่จำเป็นต้องทำการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจกับหน่วยงานราชการ โดยเป็นธุรกิจที่สามารถเกิดขึ้นเองได้ แต่นิติบุคคลจะไม่สามารถกระทำการเหมือนกับบุคคลธรรมดาได้ทุกเรื่อง ยกเว้นในกรณี สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง และบุคคลธรรมดา มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพียงแค่จัดทำบัญชีของกิจการ (บัญชีรายรับ-รายจ่าย) เท่านั้น

 
        แต่ “นิติบุคคล”เป็นเพียงบุคคลสมมติที่ไม่มีชีวิต ร่างกาย และสติปัญญา ดังนั้นนิติบุคคลจึงต้องมี “ผู้แทนนิติบุคคล” เพื่อแสดงออกถึงสิทธิ หน้าที่ ความประสงค์ของนิติบุคคล และจะต้องทำการจดทะเบียนธุรกิจก่อนถึงจะสามารถเริ่มธุรกิจได้ เพราะธุรกิจนิติบุคคลนั้นมีสถานะที่แตกต่างและมีภาระหนี้สินที่แยกจากตัวเจ้าของกิจการ ในส่วนของนิติบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งรูปแบบภาษีที่เป็นที่นิยม ได้แก่ บริษัท และห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำรายงานทางบัญชีและต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบรายงานบัญชีด้วย


กฎเกณฑ์และเงื่อนไขของบุคคลธรรมดา

• ต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์หรือได้สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย

• ต้องไม่เป็นผู้ไร้ความสามารถ

• หากผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ และผู้เสมือนไร้ความสามารถ ตามกฎหมาย จะทำนิติกรรมต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม, ผู้อนุบาล, ผู้พิทักษ์ ตามลำดับตามกฎหมายก่อน


เปลี่ยนธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็น นิติบุคคล ดีอย่างไร


        ช่วงเริ่มต้นของการทำธุรกิจคุณอาจจะเลือกจากจดทะเบียนบุคคลธรรมดา เพราะมีความคล่องตัวสูง เนื่องจากสามารถคิดและตัดสินใจได้คนเดียว ไม่ต้องรอความคิดเห็นจากผู้ถือหุ้น และการทำคนเดียวทุกอย่างมันสะดวกกว่าทั้งในด้านการตัดสินใจและไม่ต้องแบ่งผลกำไรให้ใคร อีกทั้งยังจัดตั้งง่าย ไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่ต้องจัดทำบัญชี ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการด้านเอกสาร
 

        แต่เมื่อคุณได้ดำเนินการเปิดกิจการมาสักระยะหนึ่งมีคนสนใจอยากลงทุนกับคุณเพิ่มหรือขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้งบมากขึ้นและต้องหาคนมาร่วมลงทุนเพิ่ม เมื่อคุณรู้แล้วว่าธุรกิจมีความต้องการเหล่านั้น สิ่งต่อไปที่คุณต้องทำคือดำเนินการจดทะเบียน

 
        1.ในปีแรกหลายคนอาจพบเจอปัญหาธุรกิจขาดทุน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดี แต่ในเรื่องของภาษีคุณไม่ต้องเสียภาษี เพราะนิติบุคคลจะต้องทำบัญชีส่งสรรพากร ธุรกิจจึงต้องเสียภาษีตามผลกำไรที่เกิดขึ้นจริงตามบัญชี ถ้าปีไหนธุรกิจขาดทุน ก็ไม่ต้องเสียภาษี เพราะสรรพากรคำนวณจากรายได้ของธุรกิจทั้งหมดตามจริง นี่จึงเป็นข้อดีอย่างหนึ่งสำหรับการจดเป็น นิติบุคคล และการเสียภาษีของนิติบุคคลนั้นจะคิดจากกำไรทางบัญชีเท่านั้น และภาษีที่ต้องจ่ายภายใต้กฎหมายไทยมีอัตราสูงสุด 20%

 
        2.หากคุณอยากให้บริษัทของคุณมีความน่าเชื่อถือ การเป็นนิติบุคคลนั้นทำให้ธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือกว่าธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา ทำให้สถาบันทางการเงินมีความเชื่อมั่นในการปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจ ซึ่งโอกาสในการได้สินเชื่อที่มากขึ้น จึงจำเป็นต้องจดทะเบียนเป็น นิติบุคคล ซึ่งหมายถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจที่มากขึ้นด้วย

 
        3.เงินของคุณจะเป็นระบบมากขึ้น ระหว่างเงินส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจกับเงินในการใช้ดำเนินธุรกิจถูกแยกได้อย่างชัดเจน


        4.การเป็นนิติบุคคลนั้นหมายถึงการแยกระหว่างเงินของธุรกิจ และเงินส่วนตัวของเจ้าของธุรกิจได้อย่างชัดเจน หากวันใดวันหนึ่งธุรกิจเกิดล้มละลายไปก็ไม่ได้แปลว่าคุณจะสูญเสียทรัพย์สินทั้งหมดไปด้วย เพราะคุณยังมีกิจการหรือบริษัทเป็นหลักประกันอยู่ เราซึ่งมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ก็จะสูญเสียสินทรัพย์ไปแค่ตามมูลค่าหุ้นเท่านั้น ตัวเราจะไม่ล้มละลายตามบริษัทไปด้วย นี่ทำให้เกิดความไม่สับสนระหว่างเงินทั้งสองส่วน ซึ่งถ้าธุรกิจเป็นแบบธุรกิจบุคคลธรรมดา หากมีการบริหารจัดการไม่ดีอาจทำให้ไม่สามารถควบคุมธุรกิจได้
 

ขั้นตอนในการจดทะเบียนนิติบุคคล


1.        ทำการตรวจและจองชื่อบริษัท

2.        จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ

3.        จัดให้มีการจองซื้อหุ้นบริษัทและนัดประชุมผู้ถือหุ้น

4.        ประชุมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการบริษัท

5.        ชำระค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนบริษัท

6.        รับใบสำคัญและหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล

บทความแนะนำ

สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy