ค่าโอนที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหา คิดคำนวณอย่างไร?

1,072 จำนวนผู้เข้าชม

ค่าโอนที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหา คิดคำนวณ อย่างไร?

          ค่าใช้จ่ายในการโอนบ้าน ที่ดิน หรือขายฝาก ณ กรมที่ดิน ในวันโอน มีรายการที่จะต้องจ่าย ดังต่อไปนี้


          1. ค่าธรรมเนียมการโอน จ่าย 2% ของจากราคาประเมิน หรือราคาขาย แล้วแต่อย่างใดสูงกว่า 

          2. ค่าภาษีเงินได้ (ภงด.) มีการคิดแบบ ขั้นบันไดภาษี หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามจำนวนปีถือครอง(หลายขั้นตอน) โดยแบ่งเป็น 2 กรณี

              – กรณีบุคคลธรรดาเป็นผู้โอน คำนวณจาก ราคาประเมินตามวิธีที่กำหนดในประมวลรัษฎากร(อัตราก้าวหน้า)
              – กรณี นิติบุคคลเป็นผู้โอน เสีย 1% ของราคาที่สูงกว่าระหว่างราคาประเมินและราคาทุนทรัพย์ที่ผู้ขอแสดง

          3. ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ  นี้จะคิดกับอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อมาแล้วขายออกไปภายในเวลา ไม่เกิน 5 ปี (หากมีการย้ายทะเบียนบ้านเจ้าบ้านเข้าอยู่ เกินกว่า 1 ปี ได้รับยกเว้นค่าภาษีนี้) ทรัพยสินที่เสียค่าภาษีธุรกิจเฉพาะนี้แล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรในข้อ 2

          4. ค่าภาษีท้องถิ่น 0.3%

          5. ค่าอากร กรณีบุคคลธรรมดาเป็นผู้โอน เสีย 0.5 % ของราคาที่สูงกว่าระหว่างราคาประเมินกับราคาซื้อขาย (ถ้าเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่ต้องเสียค่าอากรอีก) กรณีนิติบุคคลเป็นผู้โอน ไม่ต้องเสีย เนื่องจากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว

           6. ค่าจดจำนอง ( กรณีจำนองกับสถาบันการเงิน ) = 1% ของมูลค่าที่จำนอง (จำนวนที่กู้ทั้งหมด)

           7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าคำขอ, ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ)

 
          ในการคิดค่าค่าใช้จ่ายการโอน ปัจจุบันทำได้สะดวกขึ้น เนื่องจากว่ามีโปรแกรมคำนวณเบื้องต้น จากกรมที่ดิน ซึ่งเราสามารถตรวจสอบค่าธรรมเนียมและภาษีอากร ในการ ซื้อขายที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง และอื่นๆ เพื่อจะได้ ประมาณการค่าใช้จ่ายได้เบื้องต้น ดังนั้นเรามาดูโปรแกรมและวิธีการใช้งานเบื้องต้นกันต่อได้เลยค่ะ

          ส่วนสำคัญในการที่จะใช้งานโปรแกรมคำนวณให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง จะต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน และนำข้อมูลต่างๆไปกรอกในระบบของโปรแกรม ข้อมูลที่ต้องมีดังนี้

1. ราคาตกลงซื้อขาย (ราคาทุนทรัพย์)

2. เนื้อที่ดินกี่ไร่ กี่งาน กี่ตารางวา  

3. ราคาประเมินต่อตารางวา (คลิกตรวจสอบราคาประเมินที่ดินโดยธนารักษ์) 

4. บนที่ดินมีสิ่งปลูกสร้างหรือไม่ 

        •  ประเภทของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งนับตั้งแต่ คลังสินค้า โรงงาน ตลาด บ้าน ตึกแถว สระว่ายน้ำ ฯลฯ 

        •  ประเภทของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งนับตั้งแต่ คลังสินค้า โรงงาน ตลาด บ้าน ตึกแถว สระว่ายน้ำ ฯลฯ 

        •  ปี พ.ศ. ที่ปลูกสร้าง • ประเภทวัสดุ เช่น ตึก ตึกครึ่งไม้ ไม้ หรือ อื่นๆ 

        •  พื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง (ตารางเมตร) 

        •  ราคาประเมินสิ่งปลูกสร้าง (ค้นหาราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างโดยธนารักษ์ที่นี่)) 

5. วันที่ได้มาของที่ดิน (ตรวจสอบหลังโฉนด)

6. วันที่ได้มาของสิ่งปลูกสร้าง มาพร้อมที่ดินไหม 

7. ผู้ขาย (เจ้าของโฉนด) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของโฉนดที่จะขาย เกิน 1 ปี หรือไม่

เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ระบบจะคำนวณภาษีอากรออกมา ตัวอย่างดังนี้ 

บทความแนะนำ

สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy