ขั้นตอนและแบบฟอร์มการยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

4,012 จำนวนผู้เข้าชม

ขั้นตอนและแบบฟอร์มการยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ในการยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

          หลายท่านคงสงสัยว่าถ้าเราจะมีความประสงค์จะทำการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ไม่ว่าจะจัดสรรเล็กพิเศษ , จัดสรรเล็ก , จัดสรรขนาดกลาง ,จัดสรรขนาดใหญ่ ในกระบวนขั้นตอนจะต้องมีอะไรบ้าง ขั้นตอนและระยะเวลาที่จะต้องใช้ รวมถึงเอกสารต่างๆที่จะต้องใช้ในการยื่นขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ต้องมีอะไรบ้าง

วันนี้ Admin นำข้อมูลจากกรมที่ดิน มาฝาก

          โดยเริ่มต้นผู้ที่มีความประสงค์จะขอออกใบอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน ยื่นคำขอตามแบบ จ.ส.1 ต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด/สาขา/ส่วนแยก/อำเภอ แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ พร้อมเอกสารหลักฐานและรายละเอียด ตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต และการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2544 และข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม

ขั้นตอน ระยะเวลา และส่วนงานที่รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดำเนินการรวม : 45 วัน

ขั้นตอนที่ 1. การตรวจสอบเอกสาร
          ผู้ขอยื่นคำขอ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความครบถ้วนของหลักฐานเอกสาร
(หมายเหตุ :  (สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร และสาขา
– สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา ส่วนแยกและอำเภอ)) ระยะเวลา 1 วัน

ขั้นตอนที่ 2. การพิจารณา
          เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบความสมบูรณ์ ถูกต้องของหลักฐานเอกสารแล้ว สั่งรับคำขอและส่งเรื่องให้สำนักงานที่ดินจังหวัด
(หมายเหตุ: (สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร และสาขา
– สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินสาขา ส่วนแยกและอำเภอ)) ระยะเวลา 2 วัน

ขั้นตอนที่ 3. การพิจารณา
          ตรวจสอบแผนผัง เจ้าหน้าที่ตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินที่ขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน
(หมายเหตุ: (- สำนักงานที่ดินจังหวัด ))ระยะเวลา 14 วัน

ขั้นตอนที่ 4. การพิจารณา
          ตรวจสอบสภาพที่ดิน เจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบสภาพที่ดิน/สาธารณูปโภคและหรือบริการสาธารณะ
(หมายเหตุ: (- สำนักงานที่ดินจังหวัด ))ระยะเวลา 1 วัน

ขั้นตอนที่ 5. การพิจารณา
          ประมาณการราคาค่าก่อสร้าง แจ้งผู้ขอทำสัญญาค้ำประกันฯ
(หมายเหตุ: (- สำนักงานที่ดินจังหวัด))ระยะเวลา 7 วัน

ขั้นตอนที่ 6. การพิจารณา
          ประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน  (ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ จัดทำวาระการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินและนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดเพื่อพิจารณา แจ้งมติของคณะกรรมการฯ ให้ผู้ขอทราบ)
(หมายเหตุ: (- สำนักงานที่ดินจังหวัด))ระยะเวลา 20 วัน

รายการเอกสาร หลักฐานประกอบ

  • กรณีบุคคลธรรมดา
         – บัตรประจำตัวประชาชน
         – ทะเบียนบ้าน
         – ทะเบียนสมรส
         – พร้อมสำเนาที่มีการลงนามรับรองความถูกต้อง
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ ( เอกสารฉบับจริงไว้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ – ถ้าไม่ไปดำเนินการด้วยตนเอง ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน,ทะเบียนบ้านที่ผู้มอบอำนาจรับรองสำเนาความถูกต้อง บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ )
  • กรณีนิติบุคคล
         – หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล
         – ข้อบังคับของนิติบุคคล
         – หนังสือบริคณห์และวัตถุประสงค์
         – บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด
         – แบบรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว 
         – บัตรประจำตัวประชาชน
         – ทะเบียนบ้าน ของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
         – ตัวอย่างลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
         – รายงานการประชุมนิติบุคคล พร้อมสำเนาที่มีการลงนามรับรองความถูกต้อง
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ (ถ้าไม่ไปดำเนินการด้วยตนเอง ต้องนำหนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้าน ที่ผู้มอบอำนาจรับรองสำเนาความถูกต้อง บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ)
  • โฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • บันทึกความยินยอมให้ทำการจัดสรรที่ดินของผู้รับจำนองและจำนวนเงินที่ผู้รับจำนองจะได้รับชำระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลงและต้องระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภคหรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะไม่ต้องรับภาระหนี้จำนอง
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยที่จะขอจัดสรร
         – แผนผังระบบไฟฟ้า
         – แผนผังระบบประปา
         – แผนผังระบบการระบายน้ำ
         – แผนผังระบบบำบัดน้ำเสีย
         – แผนผังระบบถนนและทางเท้า ฯลฯ
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • แผนผังแสดงจำนวนที่ดินแปลงย่อยและเนื้อที่โดยประมาณของแต่ละแปลง
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • แผนงาน โครงการ และระยะเวลาการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • วิธีการจำหน่ายที่ดินจัดสรรและการชำระราคาหรือค่าตอบแทน
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • ภาระผูกพันต่าง ๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรรนั้น
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ 
  • ที่ตั้งสำนักงานของผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรร
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • ชื่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนด ซึ่งจะเป็นผู้ค้ำประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะหรือการปรับปรุงที่ดิน และค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • หนังสืออนุญาตเชื่อมทาง
         – หนังสือรับรองพื้นที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
         – หนังสือรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง
         – หนังสือรับรองจากการประปานครหลวง
         – หนังสืออนุญาตระบายน้ำ
         – รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ในกรณีที่ต้องจัดทำรายงาน)
    ฉบับจริง 0 ฉบับ
    สำเนา 13 ฉบับ
    หมายเหตุ –
  • สัญญาค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภค/สัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
    ฉบับจริง 1 ฉบับ
    สำเนา 0 ฉบับ
    หมายเหตุ –

ค่าธรรมเนียม

  1. คำขอ  (หมายเหตุ: (แปลงละ)) ค่าธรรมเนียมร้อยละ 5 บาท
  2. ค่ามอบอำนาจ  (หมายเหตุ: (เรื่องละ)) ค่าธรรมเนียมร้อยละ 20 บาท
  3. ค่าพยาน  (หมายเหตุ: (รายละ)) ค่าธรรมเนียมร้อยละ 10 บาท


          ใครที่ต้องการจะทำโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่แยกอยากเป็น 10 แปลงขึ้นไป สิ่งหนึ่งที่ต้องดำเนินงานก็คือการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินก่อนว่าเราจะทำอะไร โครงการแบบไหน มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง เป็นต้น เพื่อที่จะดำเนินการตามแผนที่เราวางไว้ได้ แต่การขอจัดสรรที่ดินนั้นมีขั้นตอนและต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง เรามาดูกันคะว่าขั้นตอนในการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินต้องทำอย่างไร ใช้แบบฟอร์มไหน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง


แบบฟอร์มคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน

          ก่อนที่เราจะไปทำเรื่องขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินที่สำนักงานที่ดิน ใครที่ไม่อยากยุ่งยาก เราสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินล่วงหน้าได้หรือจะโหลดมาศึกษาเรื่องที่จะต้องกรอกเบื้องต้นได้นะครับ เพื่อเตรียมพร้อมและดำเนินการอย่างรวดเร็ว แถมยังเป็นการเช็คลิสต์หรือเตรียมเอกสารที่ต้องยื่นได้อย่างครบถ้วนอีกด้วย

คลิ๊กดูแบบฟอร์มเอกสารในการอนุญาตจัดสรรที่ดิน

เอกสารที่ต้องใช้ในการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน


          สำหรับเอกสารที่จะต้องใช้ในการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินนั้นประกอบไปด้วย

1. กลุ่มเอกสารยืนยันตัวตน
          – กรณีเป็นบุคคลธรรมดา ใช้บัตรประจําตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส

          – กรณีเป็นนิติบุคคล โดยในกรณีบริษัท จํากัด หรือบริษัท มหาชน จํากัด ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ขอบังคับของนิติบุคคล หนังสือบริคณหสนธิ วัตถุประสงค์ บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่หากเป็นห้างหุ้นส่วน จํากัดหรือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ให้ใช้แบบรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน รวมถึงบัตรประจําตัวประชาชน ทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอํานาจทําการแทนนิติบุคคลด้วย

2. กลุ่มเอกสารอื่นที่ต้องยื่นประกอบคําขอ
          – โฉนดที่ดิน/หนังสือรับรองการทําประโยชน์ (ที่ดินแปลงที่ขอจัดสรร/ที่ดินแปลงภาระจํายอม)

          – บันทึกความยินยอมให้ทําการจัดสรรที่ดินของผู้รับจํานอง (กรณีมีการจํานอง)

          – รายการเฉลี่ยหนี้จํานอง ให้ระบุจํานวนเงินที่ผู้รับจํานองจะได้รับชําระหนี้จากที่ดินแปลงย่อยแต่ละแปลง พร้อมระบุด้วยว่าที่ดินที่เป็นสาธารณูปโภค หรือที่ดินที่ใช้เพื่อบริการสาธารณะ ไม่ต้องรับภาระหนี้จํานอง (กรณีมีการจํานอง)

          – แผนผังสังเขป ได้แก่ บริเวณที่ตั้งที่ดิน เส้นทางเข้า-ออก โครงการถึงถนนสาธารณะ

          – แผนผังบริเวณรวม ได้แก่ รูปต่อที่ดินแปลงที่นํามาจัดสรร

          – แผนผังการแบ่งแปลงที่ดิน ได้แก่ แผนผังแสดงจํานวนที่ดินแปลงย่อยและเนื้อที่ โดยประมาณของแต่ละแปลง

          – แผนผังระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ได้แก่ แผนผังระบบไฟฟ้าและประปา, แผนผังระบบการระบายน้ำและระบบบําบัดน้ำเสีย รวมถึงแผนผังระบบถนนและทางเท้า เป็นต้น

          – แผนงานโครงการ ระบุระยะเวลาการบํารุงรักษาสาธารณูปโภค วิธีการจําหน่ายที่ดินจัดสรร และการชําระราคาค่าภาระผูกพันต่างๆ ที่บุคคลอื่นมีส่วนได้เสียเกี่ยวกับที่ดินที่ขอจัดสรร, แบบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจัดสรร, ที่ตั้งสํานักงานของผู้ขอใบอนุญาตทําการจัดสรรที่ดิน, ชื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกําหนด ซึ่งจะเป็นผู้ค้ําประกันการจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ หรือการปรับปรุงที่ดิน และคํ้าประกันการบํารุงรักษา สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะ เป็นต้น

          – หนังสืออนุญาตเชื่อมทาง, หนังสือรับรองพื้นที่ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร, หนังสือรับรองจากการไฟฟ้านครหลวง, หนังสือรับรองจากการประปานครหลวง, หนังสืออนุญาตระบายน้ำ, รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ในกรณีที่ต้องจัดทำรายงาน)

          – หนังสือรับรองวงเงินค้ําประกันการจัดทําสาธารณูปโภค กรณีจํานวนเงินตามสัญญาค้ําประกันไม่เพียงพอ ผู้ขอจะเป็นผู้รับผิดชอบชําระเองทั้งสิ้น (มาตรา ๒๔ วรรคสาม)


ขั้นตอนการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดิน


          เมื่อเราเตรียมเอกสาร และเตรียมคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเรียบร้อยแล้ว เราก็มาเข้าสู่ขั้นตอนของการขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินกันครับ โดยสถานที่ที่เราจะต้องไปดำเนินการนั้น สำหรับพื้นที่กรุงเทพมหานครก็จะเป็นสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา ในส่วนของจังหวัดอื่นก็ให้ไปยื่นได้ที่สำนักงานที่ดินจังหวัดสำนักงานที่ดินสาขาส่วนแยกและอำเภอครับ โดยเวลาดำเนินการทั้งหมดจะอยู่ที่ 45 วัน มาดูขั้นตอนการยื่นเรื่องกันครับ



1. ยื่นคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินที่สำนักงานที่ดิน 
          ขั้นตอนแรกที่จะต้องทำก็คือผู้ขอจัดสรรจะต้องไปยื่นคําขอ พร้อมเอกสาร และรายละเอียดตามมาตรา 23 ต่อเจ้าหน้าที่ที่ดินสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครและสาขา หรือสำนักงานที่ดินจังหวัดสำนักงานที่ดินสาขาส่วนแยกและอำเภอ โดยเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของหลักฐานเอกสารที่เรายื่น สำหรับกระบวนการนี้จะใช้เวลา 1 วันมีการดำเนินการครับ 

2. เจ้าหน้าที่รับคำขอและส่งต่อให้สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
          หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารเรียบร้อยครบแล้วไม่มีปัญหาอะไร เจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินก็จะยื่นเรื่องและส่งคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินให้กับเจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดสรรที่ดิน สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครับ สำหรับกระบวนการนี้จะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 2 วันด้วยกัน

3. สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดิน
          เมื่อเจ้าหน้าที่กลุ่มงานจัดสรรที่ดิน สำนักงานส่งเสริมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับเรื่องและคำขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่ก็จะทำการตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินที่ผู้ขอจัดสรรได้ขออนุญาตทําการจัดสรรที่ดินไว้ ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้เวลาทั้งหมด 14 วันด้วยกัน

4. เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบสถานที่จริง
          เมื่อตรวจสอบแผนผังโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะลงพื้นที่ไปตรวจสภาพพื้นที่ดิน สาธารณูปโภค และบริการสาธารณะต่างๆ ในบริเวณที่ผู้ยื่นขออนุญาตจะทำการจัดสรรที่ดิน ซึ่งขั้นตอนนี้จะใช้เวลาทั้งหมด 1 วัน

5. เจ้าหน้าที่ประมาณการราคาค่าก่อสร้าง
          เมื่อเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบแล้ว ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการประมาณราคาค่าก่อสร้าง โดยส่วนที่แล้วเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งต่อผู้ยื่นขอจัดสรรที่ดิน เพื่อทําสัญญาค้ําประกันและการบํารุงรักษา ในส่วนที่ยังไม่แล้วเสร็จนั้นก็จะแจ้งต่อผู้ยื่นขอจัดสรรที่ดิน เพื่อให้ทําสัญญาค้ําประกันการจัดทําสาธารณูปโภค

6. ทําวาระการประชุมนําเรื่องเขาที่ประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน
          ขั้นตอนต่อมาก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการทำเรื่องเข้าที่ประชุม โดยเจ้าหน้าที่จะจัดทำเป็นวาระการประชุมนําเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการจัดสรรที่ดิน เพื่อพิจารณาและลงมติผลว่าสามารถทำการจัดสรรที่ดินนี้ได้หรือไม่ได้ ซึ่งกระบวนการทำวาระนำเรื่องเข้าที่ประชุมได้นั้นใช้เวลา 20 วัน 

7. คณะกรรมการจัดสรรที่ดินประชุมพิจารณาและลงมติ
          ในวันที่เรื่องเข้าวาระในที่ประชุมนั้นคณะกรรมการจัดสรรที่ดินก็จะประชุมพิจารณา และลงมติว่าการยื่นขอทำการจัดสรรที่ดินของเรานั้นสามารถทำการจัดสรรที่ดินนี้ได้หรือไม่ได้ เพื่อแจ้งผลให้กับผู้ยื่นขอต่อไป 

8. เจ้าหน้าที่ทําหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ขอจัดสรรได้ทราบ
          เมื่อได้ผลมติจากที่ประชุมของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ขอจัดสรรได้ทราบ หากคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบก็จะเข้าสู่กระบวนการของการออกใบอนุญาตให้ทําการจัดสรรที่ดินต่อไป

          ใครที่จะทำโครงการจัดสรรโดยแบ่งที่ดินออกเป็น 10 แปลงขึ้นไป แต่ฝ่าฝืนไม่ยื่นขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจะถือว่ามีความผิดตามมาตรา 21 จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับตั้งแต่ 40,000 – 100,000 บาทตามมาตรา 59 นะคะ ฉะนั้นหากจะทำโครงการจัดสรรที่แบ่งเป็น 10 แปลงขึ้นไปอย่าลืมไปยื่นขออนุญาตทำการจัดสรรที่ดินนะคะ

บทความแนะนำ

สนใจคอร์สเรียนอสังหาหรือปรึกษาด้านการลงทุนอสังหา
สถาบันสอนอสังหา Future Developer Academy